ประโยชน์ของการเขียน

เขียนโดย admin on วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของการเขียน

                                                                                    Source: teachpreschool.org via Roxanne on Pinterest

 

1. ได้ตอบสนองอารมณ์

          การเขียนเป็นทางระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง มนุษย์หากไม่พูดก็ต้องเขียน การพูดค่อนข้างเสี่ยงมากกว่าในการมีผู้มาพบมาฟังในสิ่งที่ไม่อยากให้ใครได้ยิน และในแง่กลับกันการพูดคนเดียวเป็นสิ่งที่น่ากลัวมากกว่า เพราะใครๆ อาจคิดว่าเราบ้าหรือเสียสติไปก็ได้

2. เป็นหลักฐานที่ทรงคุณค่า

          ปัจจุบันการใช้วาจาสัญญายังไม่เป็นที่ยอมรับ การเขียนสัญญาเป็นพฤติกรรมที่ได้รับการยอมรับตามกฎหมาย ในอดีตหากไม่มีการจารึกถ้อยคำไว้ ไฉนเลยเราอนุชนรุ่นหลังจักได้ทราบประวัติศาสตร์ได้

          จะเห็นได้ว่าการอ่านเป็นเป็นกระบวนการที่ทำให้ความคิดของเราดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่

          ครู 70 % เชื่อว่าการอ่านเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กในการเรียนรู้ ในขณะที่พ่อแม่ 62 % เชื่อว่า การอ่านเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กในการเรียนแสดงให้เห็นว่าทั้งครูและพ่อแม่ต่างก็จัดอันดับความสำคัญของการอ่านมากกว่าทักษะทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์การอ่านเป็นกิจกรรมที่โดดเดี่ยวพอๆ กับการเขียน หมายถึงเป็นกิจกรรมที่ต้องทำด้วยตนเองและกระทำคนเดียว (เราเคยเห็นการร้องเพลงคู่ ร้องเพลงประสานเสียง แต่ยังไม่เคยพบการอ่านคู่ หรือการอ่านประสานเสียงเลย )

          ครั้งหนึ่งคุณอารี แท่นคำ ได้เคยกล่าวไว้ว่า “งานเขียนต้องการสมาธิ งานเขียนต้องการความนิ่ง งานเขียนต้องการความโดดเดี่ยว....” ฉันใดก็ฉันนั้น การอ่านซึ่งเป็นทักษะที่เสริมรับการเขียนจึงเป็นคู่สร้างคู่สมของการเขียน เป็นกิจกรรมที่ต้องอยู่คู่กันตลอดกาล...

ความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านและการเขียน

  1. นักเขียนที่ดีมักจะเป็นนักอ่านที่ดี
  2. นักเขียนที่เก่ง มักจะอ่านมากกว่านักเขียนที่ไม่เก่ง
  3. นักอ่านที่เก่งมักจะเขียนประโยคได้ดีกว่านักอ่านไม่เก่ง

พ่อแม่ทุกคนมีความเชื่อว่าเด็กที่ชอบอ่านหนังสือจะเรียนหนังสือเก่งเพราะในระบบการศึกษาไทยยังเน้นการเรียนรู้ด้วยการอ่าน มิใช่การฝึกปฏิบัติมีหลักการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยตำราหรือหนังสือเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นนักเรียนต้องอ่านหนังสือจึงจะสอบได้ และมีเด็กหลายคนทั้งๆ ที่ฉลาดแต่ก็สอบตกเพราะไม่ชอบอ่านหนังสือหรือเด็กบางคนอ่านหนังสือเก่งแต่ไม่อาจถ่ายทอดความรู้นั้นมาทางภาษาเขียนได้ ก็ทำให้เด็กคนนั้นอาจสอบตกได้

          การอ่านและการเขียนจึงเป็นกระบวนการที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน และในเมื่อการอ่านและการเขียนเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อชีวิต เราจึงควรส่งเสริมกิจกรรมทั้งสองแก่เยาวชน

โดย : อาจารย์ บงกช สิงหกุล ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  รวบรวมโดย : สถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก http://www.childthai.org

{ 0 ความคิดเห็น... read them below or add one }

แสดงความคิดเห็น